ที่ปรึกษางานบุคคล

article

SMEs จะสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการบริหารคนได้อย่างไร (2/2)

SMEs จะสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการบริหารคนได้อย่างไร 2/2

มาติดตามต่อเนื่องจากตอนที่แล้วกัน

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

จากตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงความแตกต่างในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจ SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อปูพื้นให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความต่างของทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนที่จะวางกลยุทธ์เรื่องการจัดการคน ต่อไป

ในตอนนี้ จะกล่าวถึงแนวทางคิดเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ผู้ประกอบการ SMEs จะนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสามารถในการแข่งขันและสามารถรักษาความอยู่รอดในระยะยาว ซึ่งมี 2 ส่วน ด้วยกัน

ส่วนที่ 1 กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อความสามารถในการแข่งขัน (สุชน,2560)

Gomez-Mejia (2001) ได้แบ่งทางเลือกเพื่อบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อความสามารถทางการแข่งขันที่แตกต่างกันเอาไว้ 2 ขั้วอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น 9 หัวข้อ ด้วยกัน ดังนี้

ที่ ด้าน ขั้วแรก ขั้วที่สอง
1 กระบวนการผลิตสินค้าและบริการ (Work Flows) เน้นประสิทธิภาพ (Efficiency) โดยพยายามลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด เน้นสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
ควบคุม มีการจัดทำคู่มือการทำงานอย่างชัดเจน ยืดหยุ่นโดยเปิดโอกาสให้พนักงานใช้ดุลยพินิจ
กำหนดหน้าที่ชัดเจนเฉพาะด้าน ทำงานหลากหลายด้าน
กำหนดแผนงานชัดเจน ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น
2 กระบวนการบรรจุพนักงาน (Staffing ) สรรหาจากภายใน (ระบบปิด) สรรหาภายนอก (ระบบเปิด)
มอบอำนาจให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงเป็นผู้คัดเลือก รวมศูนย์การตัดสินใจไว้ที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
เลือกพนักงานที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กร มีมนุษยสัมพันธ์ เลือกพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคนิค
กำหนดระบบจ้างที่ไม่เป็นทางการไม่มีแบบแผนตายตัว กำหนดระบบจ้างที่เป็นทางการ มีวิธีการชัดเจนแน่นอน
3 การเลิกจ้าง ( Employee Separations ) ระบบสมัครใจ (เกษียณอายุก่อนกำหนด) ระบบบังคับ (ปลดหรือไล่ออก)
ใส่ใจพนักงาน โดยช่วยเหลือพนักงานที่ถูกปลดออก ให้พนักงานหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4 การประเมินผลปฏิบัติงานของพนักงาน (Performance Apprisal) ปรับวิธีการประเมินผลให้เหมาะสมตามกลุ่มงาน ใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร
ใช้ข้อมูล การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเป็นเกณ์ในการพัฒนาศักยภาพ ใช้ข้อมูลเพื่อควบคุมพนักงานไม่ให้ปฏิบัติต่ำกว่าเกณฑ์
เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการประเมิน ใช้การประเมินโดยผู้บังคับบัญชาฝ่ายเดียว
5 การฝึกอบรมและการพัฒนาเส้นทางอาชีพ (Training and Career Developmnet) เน้นพัฒนาทักษะ ความรู้ความชำนาญเฉพาะบุคคล เน้นประสิทธิภาพของทีมงาน
จัดอบรมเพื่อให้มีทักษะเฉพาะด้านที่ต้องใช้ในการทำงาน (OJT) ภายในองค์กร ส่งไปฝึกที่หน่วยงานภายนอก
อบรมความรู้เฉพาะด้าน อบรมให้มีความรู้ทั่วไป
6 การกำหนดผลตอบแทนเงินเดือน/ค่าจ้างและสวัสดิการ (Compensation and Benefits) กำหนดอัตราค่าจ้างคงที่ ปรับเปลี่ยนโดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยที่กำหนด เช่น ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ สภาพแวดล้อมของธุรกิจ
กำหนดอัตราค่าจ้างตามตำแหน่ง (job-based pay) กำหนดค่าตอบแทนตามความรู้ ความสามารถส่วนบุคคล (Individual-based pay)
เลือกการให้ผลตอบแทนตามหลักอาวุโส (Seniority-based pay) ให้รางวัลตามผลปฏิบัติงาน (Performance-based pay)
เลือกให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ผูกขาดอำนาจการตัดสินใจกำหนดผลตอบแทน กระจายอำนาจการตัดสินใจให้แต่ละหน่วยงานมีส่วนร่วม
7 วินัยและสิทธิของพนักงาน (Discipline and Employee Right) ใช้วินัยเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของพนักงานในการลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร
ใช้วินัยเพื่อรักษาจริยธรรมอันเป็นที่ยอมรับอย่างสากล กำหนดการปฏิบัติด้านจริยธรรมขึ้นเพื่อให้ยึดถือปฏิบัติเป็นลักษณะเฉพาะขององค์กร
8 ระบบแรงงานสัมพันธ์ (Employee and Labor Ralations) สื่อสารจากบนลงล่าง (Top-down) จากผู้บริหารลงมายังพนักงาน จากระดับล่างขึ้นบน (Bottom-up) เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสะท้อนปัญหาของตนขึ้นไปยังฝ่ายบริหาร
เลือกให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ปฏิเสธไม่ให้มีสหภาพแรงงาน
9 การจัดการแรงงานข้ามชาติ (International Management) สร้างวัฒนธรรมร่วม ให้พนักงานช่างชาติปรับตัวให้เข้ากับองค์กร
ผู้บริหารจากบริษัทประเทศแม่มาดูแลพนักงาน ให้ผู้บริหารประเทศนั้นๆ บริหารพนักงานเอง
กำหนดนโยบายจากบริษัทแม่ให้ปฏิบัติตามนโยบายเดียวกันหมด กระจายอำนาจให้แต่ละสาขากำหนดนโยบายตัวเอง

 

ซึ่ง ผู้ประกอบการสามารถทำการสำรวจทบทวนจากบริบทของธุรกิจตนเอง จาก 9 หัวข้อข้างต้นนี้ว่า  แล้วนำมากำหนดกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์

โดยศึกษาควบคู่กับการคำนึงถึงความเหมาะสมกับบริบทของธุรกิจในด้านต่างๆ ดังนี้

ส่วนที่ 2 แนวทางการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิผลกับธุรกิจ SMEs

1.กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Fit with organization strategies) กลยุทธ์เชิงรุก

(Evolutionary Business Strategy)

กลยุทธ์ตั้งรับ (Steady-state Strategy)
มักเป็นช่วงที่ธุรกิจมีการขยายตัว มียอดขายและกำไรสูงขึ้น มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น หรือมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างตลาดใหม่ๆ จึงจำเป็นต้องขยายกิจการ เพิ่มกำลังผลิต เพิ่มสาขา จึงต้อง เพิ่มคนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้ทันต่อควมต้องการของตลาด มักเป็นช่วงที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง ตลาดอิ่มตัวกับสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจนำเสนอ จึงต้องพยายามควบคุมค่าใช้จ่าย ลดการลงทุนเพิ่ม ไม่เพิ่มกำลังคน เน้นด้านประสิทธิภาพของต้นทุนการผลิตสินค้า หรือบริการ
ยืดหยุ่นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ลดการควบคุม ให้อิสระในการตัดสินใจ กระจายอำนาจ เน้นให้ความสำคัญกับนวัตกรรมมากกว่าการคำนึงถึงต้นทุน ค่าใช้จ่าย (บริหารคนแบบระบบเปิด) การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นระบบปิด ใช้การควบคุมมากกว่าการกระจายอำนาจ มีการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน เน้นการทำงานตามสายบังคับบัญชา รวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร

 

2.กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม (Fit with environment) สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง สภาพแวดล้องทางเศรษฐกิจคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง
ส่งผลให้ธุรกิจมีระดับกลยุทธ์การจัดการและระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สูงกว่า ส่งผลธุรกิจขาดการคำนึงถึงการจัดการและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว SMEs จึงต้องมีความสามารถในการปรับตัวสูง ควรบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบระบบเปิดมากขึ้น มีความยืดหยุ่น เปิดรับความรู้จากที่ปรึกษาภายนอกองค์กร เปิดรับผู้บริหารมืออาชีพจากภายนอกมาสืบทอดตำแหน่งทางธุรกิจจากบุคคลภายในครอบครัว ควรมีคณะกรรมการบริหารเพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่พิจารณาร่วมกันอย่างรอบด้าน ไม่ใช่การตัดสินใจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

 

3.กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องสอดคลัองและเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะขององค์กร (Fit with organizational personality) กระบวนการผลิตมีลักษณะแบบแผนตายตัว เหมือนสายพานผลิตในโรงงาน หากเป็นธุรกิจบริษัทโฆษณา ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูง 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมุ่งเน้นการควบคุมเพื่อให้เกิดมาตรฐานสินค้าเดียวกัน การฝึกอบรมควรเน้นด้านเทคนิค เพื่อเพิ่มทักษะ ความชำนาญที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (On the job training) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรเป็นแบบเปิด ลดการควบคุม และเพิ่มความยืดหยุ่น ให้โอกาสในการใช้ดุลยพินิจมากกว่าการสั่งการตามสายการบังคับบัญชา เน้นนวัตกรรมมากกว่าประสิทธิภาพ

 

4.กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับความสามารถขององค์กร (Fit with organizational capabilities) กลยุทธ์ผู้นำต้นทุนต่ำ

(Cost Leadership Strategy)

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Dffierentiation) กลยุทธ์เน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Focus)
เน้นด้านประสิทธิภาพในการผลิต บริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นระบบปิด เน้นควบคุมให้เป็นตามกฏระเบียบ ลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด บริหารทรัพยากรมนุษย์แบบระบบเปิด เน้นด้านนวัตกรรมมากกว่าด้านประสิทธิภาพ สนับสนุนด้านการวิจัย และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยปกติ ธุรกิจ SMEs  จะมีความสามารถทางการแข่งขันโดยมุ่งเน้นที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก อย่างไรก็ตามควรมุ่งเน้นเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มลุกค้าซึ่งเป็นตลาดที่ไม่ใหญ่เพียงพอที่จะจูงใจให้ธุรกิจขนาดใหญ่เข้ามาแข่งขันด้วย เนื่องจากหากตลาดมีขนาดใหญ่พอให้ธุรกิจขนาดใหญ่มาร่วมแข่งขันด้วย ศักยภาพและทรัยากรของธุรกิจขนาดใหญ่จะบริหารต้นทุนการผลิตที่ต่ำจน SMEs ไม่สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ส่วนกลยุทธ์ด้านการสร้างความแตกต่างนั้นมักจะมีต้นทุนการวิจัยและพัฒนาสูงมากเกินกว่าความสามารถของธุรกิจ SMEs

ซึ่ง SMEs สามารถใช้จุดแข็งที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ในการขยายขีดความสามารถทางการแข่งขันของตนเอง โดยการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกมากขึ้น และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

_________________________________________________________________________________
อ้างอิง : การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ที่มา : https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/97780
_________________________________________________________________________________
บทความโดย : สุคนธา เปลี่ยนรูป
HR freelance : HR Consultant

#HRfreelance #HRconsultant #HRconsulting #HRCoach #ที่ปรึกษาHR

 

แชร์บทความได้ที่

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความเพิ่มเติม